วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผลงาน /นวัตกรรม

นวตกรรมการมีส่วนร่วม โครงการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสามอ่าง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขล ๑.วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมใน รพ.สต. ๑.๒ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กลุ่มต่างๆ ๑.๓ สร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ๑.๔ พัฒนานวตกรรมตำบล ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ๒.บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ได้ดำเนินโครงการจำนวน ๔ โครงการ ดังนี้ ๒.๑ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๕ โดยจัดให้มีกิจกรรม ๒.๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน ๒.๑.๒ สำรวจและจัดทำ กลุ่มเป้าหมายต่างๆของโครงการ - มีกลุ่มเป้าหมายโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน ๑,๔๑๙ คน - มีกลุ่มเป้าหมายโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน ๑,๕๙๔ คน ๒.๑.๓ อสม. ผู้นำชุมชน ร่วมรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรค ครอบคลุม ๕ หมู่บ้าน คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน ๑,๔๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๙๒ คัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน ๑,๕๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๑๒ ๒.๑.๔ อบรม อสม. ผู้นำชุมชน เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเป็นครู ค ในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๑๐/๒ คน/ครั้ง ๒.๑.๕ จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจัดกิจกรรมทุกวันพฤหัสบดี โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การปฏิบัติตน การบริโภคอาหาร การตรวจร่างกายโดย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาค่าดัชนีมวลกาย สาธิตและฝึกปฏิบัติออกกำลังกาย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๑๓๕ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๑๙ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๘๕๙ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๕๗๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๐๕ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๘๕ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ รวมกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด จำนวน ๙๐๙ คน เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๐๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ ๒.๑.๖ จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๖๐๖ คน กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมดีขึ้น จำนวน ๑๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๖๔ ๒.๑.๗ ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑,๕๙๔/๘ คน/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๒.๒ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล ปี ๒๕๕๕ โดยมี กิจกรรมดังนี้ ๒.๒.๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลพร้อมกับการสร้างวิทยากรฯ แก่ ผู้นำชุมชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในตำบล หลักสูตร ๑ วัน จำนวน ๑๒๗ คน ๒.๒.๒ ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลให้เกิดเป็นรูปธรรม เกิดแผนสุขภาพตำบล เกิดมาตรการทางสังคม ๒.๒.๓ แผนสุขภาพตำบล และมาตรการทางสังคม นำไปสู่การปฏิบัติ ๒.๓ โครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ๒.๓.๑ จัดเวทีเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ครอบคลุม ทั้ง ๕ หมู่บ้านโดยคัดเลือกบุคคลสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติระดับตำบลจำนวน ๕ คน ๒.๔ โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ( CQI ) ที่รักษาพยาบาลที่ รพ.สต. ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ดังนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๖๘ คน เข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๔๙ คน เข้าร่วมโครงการจำนวน ๒๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ โดยมีกิจกรรมดังนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๖๘ คน เข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ รวมผู้ป่วย โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๔๙ คน เข้าร่วมโครงการจำนวน ๒๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ๒.๔.๑ กิจกรรมในคลินิกเบาหวาน ใน รพ.สต. (๑) เจาะเลือดหาค่า FBS (๒) เจาะเลือดนำส่ง รพ. เพื่อตรวจสุขภาพปีละครั้ง ตรวจหา HbA๑c (๓) จัดบริการอาหารเช้า หลังเจาะเลือด (๔) ให้ความรู้การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยพยาบาลวิชาชีพ (๕) นำออกกำลังกายโดยเจ้าหน้าที่ (๖) ให้สุขศึกษารายบุคคลในรายที่มีปัญหาซับซ้อน (๗) กรณีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ส่งพบแพทย์ ๒.๔.๒ กิจกรรมในคลินิกความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต. (๑) ตรวจวัดความดันโลหิต (๒) เจาะเลือดนำส่ง รพ. เพื่อตรวจสุขภาพปีละครั้ง (๓) จัดบริการอาหารเช้า (๔) ให้ความรู้การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยพยาบาลวิชาชีพ (๕) นำออกกำลังกายโดยเจ้าหน้าที่ (๖) ให้สุขศึกษารายบุคคลในรายที่มีปัญหาซับซ้อน (๗) กรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ส่งพบแพทย์ ๒.๔.๓ Self Help Group ใน รพ.สต. (๑) ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทุกคนที่มารับบริการ (๒) สร้างสัมพันธภาพในกลุ่มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยครู อสม. เดือนละ ๒ ครั้ง โดยกำหนดให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทุกคนที่มารับ บริการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม Self Help Group ใน รพ.สต. อย่างน้อย ๑ ครั้ง/คน/ปี (๓) ใช้กระบวนการค้นหาปัญหาโดยผู้ป่วยทุกคนมีส่วนร่วม - ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาโดยผู้ป่วย - เพิ่มเติมส่วนขาดโดยทีมสหวิชาชีพ (พยาบาล,นักกายภาพบำบัด,นักโภชนากร, เภสัชกร) - มีการนัดหมายเพื่อติดตามประเมินผล ๒.๔.๔ กิจกรรมในชุมชน (๑) ประชุม อสม. และเจ้าหน้าที่ เดือนละ ๑ ครั้ง (๒) มีระบบคัดกรองหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชนสำหรับผู้ที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป โดย อสม. ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ปีละ ๑ ครั้ง (๓) เจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม. ติดตามเยี่ยมบ้านปีละสองครั้ง สำหรับในรายที่ยังมีปัญหา ให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล (๔) การประเมินผลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทุกกลุ่มที่ได้ทำ Self Help Group จะติดตามต่อเนื่องและประสานความช่วยเหลือโดย เจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้าน ๒.๔.๕ กิจกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care) (๑) รับ Case จาก รพ. ระโนด (๒) ประชุมทีมศึกษา Case (๓) ติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยมีกิจกรรม - การประเมินความรู้ตามปัญหา เช่น อาหาร, ยา, กายภาพ, ความรู้ทั่วไป - การดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สายสวนปัสสาวะ, NG Tube, ท่อหลอดลมคอและอื่น ๆ - การประเมินขณะเยี่ยม หากพบปัญหาที่ยังเหลืออยู่ส่งต่อปัญหาที่พบตามปัญหานั้น ๆ เช่น ส่งต่อแพทย์, โภชนากร, กายภาพบำบัด, เภสัชกร, พยาบาล - ติดตามประเมินผลตามปัญหาอีก ๑ ครั้ง ว่าควรมีการติดตามเยี่ยมซ้ำหรือไม่ - ติดตามเก็บข้อมูลระยะ ๑ ปี หลังติดตามเยี่ยม (๔) สรุปผลการเยี่ยมลง OPD card ๓. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ๓.๑ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมใน รพ. สต. กิจกรรม ๓.๑.๑ คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๓.๑.๒ อบรม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อเป็นครู ค ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๓.๑.๓ อบรมให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพแก่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ๓.๑.๔ อบรมให้ความรู้ ด้านสุขภาพแก่ ประชาชนทั่วไป ๓.๒ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ อปท. กลุ่มต่างๆ กิจกรรม ๓.๒.๑ ประชาคมระดับหมู่บ้านครอบคลุมทุกหมู่บ้าน จำนวน ๕ ครั้ง ๓.๒.๒ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ แก่ ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณะกรรมการ บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในตำบล หลักสูตร ๑ วัน จำนวน ๑๒๗ คน ๓.๒.๓ แก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน ๓ อันดับแรก โดยมีการดำเนินงานดังนี้ - โครงการร่วมใจต้ายภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง - โครงการควบคุม ป้องกันโรค ไข้เลือดออก - โครงการอาหารปลอดภัย ๓.๓ สร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล กิจกรรม ๓.๓.๑ จัดเวทีเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ๓.๔ พัฒนานวตกรรมตำบลด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรม ๓.๔.๑. ทำ CQI เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยจัดให้มีกิจกรรม Self Help Group ใน รพ.สต. อย่างต่อเนื่อง ๔. เปรียบเทียบผลผลิต ที่ต้องการของโครงการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ผลผลิต (output) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) ปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางแก้ไข ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุน แต่ละกิจกรรม โครงการ ชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๕ เชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน ๑,๕๙๔ คน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน ๑,๕๘๐ คน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะ ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ปัญหาและอุปสรรค ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมน้อย แนวทางแก้ไข ๑.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่าน หอกระจายข่าว ๒. ให้ อสม. ในเขตรับผิดชอบ เชิญชวนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม ๓. จัดกิจกรรมประกวดบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ อสม. อบต. ผู้นำชุมชน สถานศึกษา วัด CUP ระโนด เชิงคุณภาพ ๑.ประชากรได้รับการตรวจ คัดกรอง ร้อยละ ๘๐ ๒.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๖๐ ๓.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ๑๐๐ ๑.ประชากรได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ ๙๙.๑๒ ๒.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๖๖.๖๗ ๓.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน ๑๒๗คน ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑๒๐ คน ร้อยละ ๙๔.๔๙ ผู้เข้าร่วมโครงการ มีกระบวนการการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพระดับตำบลได้ ได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับแผนชุมชน และแผนพัฒนาสุขภาพตำบลให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตำบลเกิดแผนพัฒนาสุขภาพ และมาตรการทางสังคม โดยชุมชนเอง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ปัญหาและอุปสรรค ผู้เข้าร่วมโครงการขาดการประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูล ถึงประชาชน แนวทางแก้ไข ๑.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่าน หอกระจายข่าว จัดเวทีเสวนาประชาสัมพันธ์การสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพในประชาชนทั่วไป เชิญภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาชุมชน เกษตรตำบลเข้าร่วมโครงการ การสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพด้วยในครั้งต่อไป อสม. อบต. ผู้นำชุมชน สถานศึกษา วัด CUP ระโนด เชิงคุณภาพ มีกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิทยากรกระบวนการการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ระดับตำบลได้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับแผนและพัฒนาสุขภาพตำบล เกิดแผนพัฒนาสุขภาพ โดยชุมชนเอง ผู้เข้าร่วมโครงการ มีกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพ ได้อย่างมประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานสุขภาพระดับตำบลได้ ได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับแผนชุมชนและแผนพัฒนาสุขภาพตำบลให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตำบลเกิดแผนพัฒนาสุขภาพ โดยชุมชนเอง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อไป ผลผลิต (output) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) ปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางแก้ไข ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุน แต่ละกิจกรรม โครงการ เชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล เชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน ๕ คน/๕ หมู่บ้าน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจริงได้รับการคัดเลือก จำนวน ๕ คน/๕ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนา รพ.สต. อสม. ผู้นำชุมชน ได้รับการ เชิดชูเกียรติผลงานด้านสุขภาพระดับตำบลสร้างความภาคภูมิใจและขวัญกำลังใจในการดำเนินงาน และเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนต่อไป ปัญหาและอุปสรรค ตั้งงบประมาณไว้น้อย แนวทางแก้ไข ๑.ควรจัดตั้งงบประมาณไว้มากกว่านี้หรือจัดหาแหล่งงบประมาณร่วม เช่น อบต. เอกชน ๒.จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติทุกๆปี ๓. ควรส่งเสริมให้เยาวชนเข้าร่วมให้มากๆ เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นคุณค่าของคนดีที่สมควรยกย่อง อสม. อบต. ผู้นำชุมชน สถานศึกษา วัด CUP ระโนด เชิงคุณภาพ คณะกรรมการพัฒนา รพ.สต. อสม. ผู้นำชุมชน ได้รับการ เชิดชูเกียรติผลงานด้านสุขภาพระดับตำบล ครอบคลุมทั้ง ๕ หมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนา รพ.สต. อสม. ผู้นำชุมชน ได้รับการเชิดชูเกียรติผลงานด้านสุขภาพระดับตำบล ครอบคลุม ทั้ง ๕ หมู่บ้าน ผลผลิต (output) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) ปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางแก้ไข ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุน แต่ละกิจกรรม โครงการ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (CQI) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เชิงปริมาณ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ ๕๐.๐๐ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่รักษาพยาบาล ใน รพ.สต จำนวน ๑๐๐ คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ ๗๕.๐๐ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ จัดกิจกรรม Self Health Groupผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต เดือนละ ๔ ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ค้นหาความผิดปกติ หรือโรคแทรกซ้อน เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครบตามนัด มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น ปัญหาและอุปสรรค ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกกังวล กับโรคที่เป็น ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายขาด แนวทางแก้ไข สร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group ที่เข้าร่วมกิจกรรมให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตอย่างปกติสุข จัดกิจกรรมประกวดบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วย จัดเยี่ยมบ้านดูแลด้านกาย จิต สังคม พร้อม Gift Set อสม. อบต. ผู้นำชุมชน สถานศึกษา วัด CUP ระโนด ผลผลิต (output) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) ปัญหาและอุปสรรคพร้อมแนวทางแก้ไข ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุนแต่ละกิจกรรม โครงการ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (CQI) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เชิงคุณภาพ ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครบตามนัด ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต ได้ดีขึ้น ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง กลุ่มSelf Health Group มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครบตามนัด ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต ได้ดีขึ้น ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง กลุ่ม Self Health Group มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต ได้ดีขึ้น ๕. การประเมินสถานการณ์ ชื่อโครงการ สถานการณ์ กิจกรรมที่ดำเนินการ ผลลัพธ์ที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ปัญหาและอุปสรรค โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๕ ตามแผน ตรวจคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยง อบรม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อเป็นครู ค ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง รักษาผู้ป่วยเบาหวานทุกราย ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ประชากรได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ ๘๐ อสม. ผู้นำชุมชน ร่ามเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นครู ค จำนวน ๑๐ คน ๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐.๐๐ ๔.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ๑๐๐ ๕.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ ๑๐๐ ๑.ประชากรได้รับการตรวจ คัดกรอง ร้อยละ ๙๙.๙๒ ๒. อสม. ผู้นำชุมชน ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นครู ค จำนวน ๑๐ คน ร้อยละ ๑๐๐ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๖๖.๖๗ กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ๑๐๐ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ ๑๐๐ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมน้อย โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล ปี ๒๕๕๕ ตามแผน อบรมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อบรมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมจำนวน ๑๒๗ คน อบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ครอบคลุม ๕ หมู่บ้าน รวม จำนวน ๑๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๔๙ ผู้เข้าร่วมโครงการขาดการประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูลถึงประชาชน ชื่อโครงการ สถานการณ์ กิจกรรมที่ดำเนินการ ผลลัพธ์ที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ปัญหาและอุปสรรค โครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ตามแผน จัดเวทีเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล มีบุคคลได้รับการเชิดชูเกียรติครอบคลุมทั้ง ๕ หมู่บ้าน มีบุคคลได้รับการเชิดชูเกียรติครอบคลุมทั้ง ๕ หมู่บ้าน งบประมาณน้อย การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (CQI) ปี ๒๕๕๕ ตามแผน ตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่งต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนทุกราย จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ ๕๐.๐๐ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต เดือนละ ๔ ครั้งผู้เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ๑.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ ๗๕.๐๐ ๒.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับ การส่งต่อเพื่อรับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ๓. จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต เดือนละ ๔ ครั้งผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๔๙ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐ ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกกังวล กับโรคที่เป็น ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายขาด ๖. แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค (แผนงาน/โครงการ) จากการดำเนินตามโครงการ ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไปโดยจัดทำแผนงาน/โครงการซึ่งดำเนินการต่อเนื่องใน ปี งบประมาณ ๒๕๕๕ ดังนี้ ปัญหา วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย ผู้รับผิดชอบ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมน้อย พัฒนาองค์ความรู้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิตสูง ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร้อยละ ๖๐ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๕๔๕ คน อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิตสูง มีนาคม ๒๕๕๕ ๒๐,๐๐๐ บาท รพ.สต. สามอ่าง ผู้เข้าร่วมโครงการขาดการประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูลถึงประชาชน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายครอบคลุมทุกเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนจำนวน ๑๒๗ คน จัดอบรมฟื้นฟู เชิงปฏิบัติการ อสม. ผู้นำชุมชน อปท. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนประชาชน ในการทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) มิถุนายน ๒๕๕๕ ๑๐,๐๐๐ บาท รพ.สต. สามอ่าง ผู้ป่วย รู้สึกกังวลใจ กับโรคที่เป็น ซึ่งรักษาไม่หายขาด สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ป่วย สร้างบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๒๔๙ คน จัดเวทีประกวดบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ สิงหาคม ๒๕๕๕ ๒๐,๐๐๐ บาท รพ.สต. สามอ่าง ใบสรุปรายงานความก้าวหน้าโครงการย่อย นำส่ง สสส. โครงการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามอ่าง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เมษายน ๒๕๕๕ - กันยายน ๒๕๕๕ วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมใน รพ. สต. ๑.๒ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กลุ่มต่างๆ ๑.๓ สร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ๑.๔ พัฒนานวตกรรมตำบล ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน โครงการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามอ่าง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาประกอบด้วย ๔ โครงการย่อย ดังนี้ ๑. โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๕ กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑. คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ร้อยละ ๘๐ เพื่อค้นหา กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ ๒. นำข้อมูลมาวางแผนแก้ไขปัญหา ดังนี้ ผู้ป่วย ได้รับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐ กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๐ กลุ่มปกติ ได้รับความรู้ และมีการตรวจคัดกรองปีละครั้ง ร้อยละ ๘๐ วัตถุประสงค์ของกิจกรรม ๑.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๐ ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้เข้ารับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ ๓. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐ ๔. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๐ ๕. กลุ่มปกติ ได้รับความรู้ ร้อยละ ๘๐ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในตำบลตะเครียะ จำนวน ๑,๕๙๔ คน พื้นที่/สถานที่ดำเนินการ หมู่ที่ ๑ โรงเรียนวัดเกษตรชลธี หมู่ที่ ๒ วัดหนองถ้วย หมู่ที่ ๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามอ่าง หมู่ที่ ๔ ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ ๕ โรงเรียนบ้านดอนแบก ตัวชี้วัดของกิจกรรม ๑. ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงปีละครั้ง ร้อยละ ๘๐ ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้เข้ารับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ ๓. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐ ๔. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๐ ๕. กลุ่มปกติ ได้รับความรู้ ร้อยละ ๘๐ ผลผลิตของกิจกรรม ได้ตามแผนที่กำหนดไว้คือ ๑. ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงปีละครั้ง ร้อยละ ๙๙.๑๒ ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้เข้ารับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ ๓. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๖.๖๗ ๔. กลุ่มปกติ ได้รับความรู้ ร้อยละ ๑๐๐ ไม่ได้ตามแผนที่กำหนดไว้คือ ๑. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๑๙.๖๔ ( เป้าหมาย ร้อยละ ๓๐ ) ประโยชน์ที่ประชาชน/แกนนำและภาคีได้รับ ๑.ประโยชน์ที่ประชาชน/แกนนำและภาคีได้รับ คือ การทำงานแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ๒. ประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาและ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ การขยายผลกิจกรรม ๑. สามารถนำไปปรับใช้ในการคัดกรองกลุ่มอื่นๆได้ เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ วัยทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการดำเนินชีวิต ๒. สามารถลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ในประชากรทุกกลุ่มอายุ ๒. โครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑.จัดประชุม อสม. ผุ้นำชุมชน เพื่อค้นหา คนดีศรีตะเครียะ ๑.๑ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หมู่ละ ๑ คน ๑.๒. จัดเวทีคัดเลือก โดยคณะกรรมการระดับตำบล ๑.๓ จัดเวทีมอบเกียรติบัตร/ ของที่ระลึก เชิดชูเกียรติคนดีศรีตะเครียะ วัตถุประสงค์ของกิจกรรม ๑. เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะในระดับตำบล หมู่บ้าน ๒. เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนได้ปฏิบัติตาม บุคคลตัวอย่าง (คนดีศรีตะเครียะ) ในตำบล กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในตำบลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ จำนวน ๕ คน พื้นที่/สถานที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามอ่าง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตัวชี้วัดของกิจกรรม ประชาชนในตำบลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ หมู่ละ ๑ คน ผลผลิตของกิจกรรม ได้ตามแผนที่กำหนดไว้คือ ๑. ประชาชนในตำบลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ ได้รับการคัดเลือกเป็นคนดีศรีตะเครียะ ครอบคลุม ๕ หมู่บ้าน ร้อยละ ๑๐๐ ประโยชน์ที่ประชาชน/แกนนำและภาคีได้รับ ๑. ประชาชน/แกนนำและภาคีมีการทำงานแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ๒. ประชาชนเห็นความสำคัญ คุณค่าของการได้รับการคัดเลือกในตำแหน่ง คนดีศรีตะเครียะ และตระหนักในการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การขยายผลกิจกรรม ๑. สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดทำเวทีเชิดชูเกียรติเพื่อยกย่อง เชิดชูคนดี ในสังคม ให้สอดคล้องกับบริบทของงาน ๓.โครงการการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (CQI) ปี ๒๕๕๕ กิจกรรมที่ดำเนินการ อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง วัตถุประสงค์ของกิจกรรม ๑. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐ ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๐ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในตำบลตะเครียะ จำนวน ๙๐๙ คน พื้นที่/สถานที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามอ่าง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตัวชี้วัดของกิจกรรม ๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐ ๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๐ ผลผลิตของกิจกรรม ได้ตามแผนที่กำหนดไว้คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๖.๖๗ ไม่ได้ตามแผนที่กำหนดไว้คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๑๙.๖๔ ประโยชน์ที่ประชาชน/แกนนำและภาคีได้รับ ๑. ประชาชน/แกนนำและภาคีมีการทำงานแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ๒. ประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาและ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ การขยายผลกิจกรรม ๑. สามารถนำไปปรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพกับกลุ่มอื่นๆได้ เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ วัยทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการดำเนินชีวิต ๒. สามารถลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ในประชากรทุกกลุ่มอายุ ๔. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล ปี ๒๕๕๕ กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑. ประชาคมประชาชนทุกหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพในชุมชน ๒. นำปัญหาสุขภาพในชุมชนสู่เวทีการประชุม อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย ๓. จัดอบรมให้ความรู้ วิเคราะห์ปัญหา โดย อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย ๔. วางแผนแก้ไขปัญหา ๕. ติดตามและประเมินผล วัตถุประสงค์ของกิจกรรม ๑.เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกัน ๒.เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล กลุ่มเป้าหมาย อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย จำนวน ๑๒๗ คน พื้นที่/สถานที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามอ่าง ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตัวชี้วัดของกิจกรรม ๑. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกัน ร้อยละ ๘๐ ๒. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล ร้อยละ ๘๐ ผลผลิตของกิจกรรม ได้ตามแผนที่กำหนดไว้คือ อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหาวิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกันในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล ร้อยละ ๙๔.๔๙ ประโยชน์ที่ประชาชน/แกนนำและภาคีได้รับ ๑.ประชาชน/แกนนำและภาคีมีการทำงานแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ๒.ประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาและ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ การขยายผลกิจกรรม ๑. ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของในการดำเนินงานกิจกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน ๒. สามารถนำไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาตำบล เพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป ชื่อโครงการ สถานการณ์ กิจกรรมที่ดำเนินการ ผลลัพธ์ที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ปัญหาและอุปสรรค โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๕ ตามแผน ๑.ตรวจคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยง ๒.อบรม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อเป็นครู ค ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๓. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง ๔.รักษาผู้ป่วยเบาหวานทุกราย ๕. ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ๑.ประชากรได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ ๘๐ ๒. อสม. ผู้นำชุมชน ร่ามเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นครู ค จำนวน ๑๐ คน ๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๖๐ ๔.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๐ ๔.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ๑๐๐ ๕.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้การดูแลสุขภาพร้อยละ ๘๐ ๑.ประชากรได้รับการตรวจ คัดกรอง ร้อยละ ๙๙.๑๒ ๒. อสม. ผู้นำชุมชน ร่ามเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นครู ค จำนวน ๑๐ คน ร้อยละ ๑๐๐ ๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๖๖.๖๗ ๔.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ ๑๙.๖๔ ๕.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ ๖. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ด้านสุขภาพร้อยละ ๑๐๐ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ น้อยกว่าเป้าหมาย โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล ปี ๒๕๕๕ ตามแผน อบรมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อบรมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมจำนวน ๑๒๗ คน อบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ครอบคลุม ๕ หมู่บ้าน รวม จำนวน ๑๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๔๙ ผู้เข้าร่วมโครงการขาดการประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูลถึงประชาชน ชื่อโครงการ สถานการณ์ กิจกรรมที่ดำเนินการ ผลลัพธ์ที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ปัญหาและอุปสรรค โครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ตามแผน จัดเวทีเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล มีบุคคลได้รับการเชิดชูเกียรติครอบคลุมทั้ง ๕ หมู่บ้าน มีบุคคลได้รับการเชิดชูเกียรติครอบคลุมทั้ง ๕ หมู่บ้าน งบประมาณน้อย การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (CQI) ปี ๒๕๕๕ ตามแผน ๑. ตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ๒. ส่งต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนทุกราย ๓. จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต ๑.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ ๕๐.๐๐ ๒.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ๓. จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต เดือนละ ๔ ครั้งผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๖๐.๐๐ ๑.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ ๗๕.๐๐ ๒.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ๓. จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต เดือนละ ๔ ครั้งผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๔๙ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐ ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกกังวล กับโรคที่เป็น ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายขาด ถอดบทเรียน นวัตกรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนใน รพ.สต. ตามโครงการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ รพ.สต. เป้าหมาย ๑. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมใน รพ. สต. ๒ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กลุ่มต่างๆ ๓ สร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ๔ พัฒนา นวัตกรรมตำบล ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ประเด็นที่ ๑ การก่อรูปการทำงาน ในการจัดการสุขภาพของ รพ.สต. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ๑. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสุขภาพ ตั้งแต่ ประชุมประชาคม สำรวจและจัดทำ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ร่วมรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรค ๒. ภาคีเครือข่ายกลุ่ม อสม. ผู้นำชุมชน ที่เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถเป็นครู ค ในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ได้ ๓. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้เกี่ยวกับโรค การปฏิบัติตน การบริโภคอาหาร สามารถ หาค่าดัชนีมวลกาย และประเมินสุขภาพตนเองได้และ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ดี กว่า ๔. การสาธิตและฝึกปฏิบัติในกิจกรรม ทำให้กลุ่มเสี่ยงเข้าใจในขบวนการดำเนินงานง่ายยิ่งขึ้น ๕ .การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (CQI) สามารถจัด กิจกรรม Self Help Group ได้ทั้งในคลินิกเบาหวาน ใน รพ.สต. และในชุมชนโดยมีกิจกรรมครบวงจร ดังนี้ วัดความดันโลหิต เจาะเลือดหาค่า FBS ตรวจสุขภาพปีละครั้ง ตรวจหา HbA๑c ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้ความรู้การปฏิบัติตัว การออกกำลังกาย ส่งพบแพทย์ ในรายใหม่และรายที่มีภาวะแทรกซ้อนพร้อมทั้งติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ๖. จากกลุ่ม Self Help Group ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดองค์ความรู้และคลังความรู้ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ๗. การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนผ่านสื่อต่างๆ เช่น ทีวี วิทยุ หอกระจายข่าว สามารถทำให้ประชาชนได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพมากขึ้น ๘. การจัดเวทีเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนดี ที่เสียสละในการดำเนินงานเพื่อชุมชนและสามารถถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น ๙. การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล สามารถพัฒนาเครือข่ายตำบลเป็นตำบลจัดการตนเองได้ ๑๐. การดำเนินงานขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล เกิดมาตรการทางสังคม เป็นรูปธรรม ๑๑. ความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย ทำให้แผนสุขภาพตำบล และมาตรการทางสังคม นำไปสู่การปฏิบัติ อย่างยั่งยืน เกิดเป็นตำบลจัดการตนเอง ในอนาคต ประเด็นที่ ๒ กลไกและกระบวนการในการสร้างการมีส่วนร่วม กลไกและกระบวนการ ในการสร้างการมีส่วนร่วม มีดังนี้ ขั้นที่๑. ประชาชน มีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาในชุมชนตลอดจน กำหนดความต้องการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของความ ต้องการ ขั้นที่๒. ประชาชน มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่ใช้ ขั้นที่๓. ประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสร้างประโยชน์โดยการสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือเข้าร่วม บริหารงาน ประสานงานและดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก ขั้นที่ ๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการพัฒนาหรือยอมรับ ผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ขั้นที่ ๕ . ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนา เป็นขั้นที่ประชาชนเข้าร่วม ประเมินว่าการพัฒนาที่ได้กระทำไปนั้นสำเร็จดามวัตถุประสงค์เพียงใด ๒.๑ จุดเริ่มต้นของการจัดการสุขภาพของชุมชนร่วมกันของ รพ.สต. ชุมชน หรือภาคส่วนอื่นๆ ขั้นที่ ๑. ประชุมประชาคมประชาชนทุกหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาต่างๆในชุมชน ขั้นที่ ๒. ประชุมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน ขั้นที่ ๓. ดำเนินงานตามแผน ขั้นที่ ๔. ติดตามและประเมินผล ๒.๒ กระบวนการพัฒนา กระบวนการพัฒนา การมีส่วนร่วมแบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. ประชาชนการมีส่วนร่วมในการวางแผน ๒. ประชาชนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ๓. ประชาชนการมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ ๔. ประชาชนการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ๒.๓ การวิเคราะห์ปัญหา จากข้อมูลงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ของ ตำบลตะเครียะ พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ อัตราป่วยโรคเบาหวาน เท่ากับ ๓,๘๓๓.๙๙ ๔,๐๕๘.๙๙ และ ๔,๒๖๕.๙๙ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ เท่ากับ ๖,๔๙๐.๒๖ ๗,๒๒๔.๒๖ ๘,๔๖๙.๒๖ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและการตลาด ของผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้ทวีจำนวนและมีความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีอำนาจในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น มีการแข่งขันการทำมาหากินของสังคมไทยมากขึ้น ทำให้เกิดค่านิยมการรับประทานอาหารจานด่วน สะดวกขึ้น มีอาหารสำเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาดทั่วๆ ไป อาหารเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะปัญหาโรคอ้วน การรณรงค์เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมอาหารที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายและมีการพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายให้มีองค์ความรู้ ในเรื่องแบบแผนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในคนรุ่นใหม่ ตลอดจนปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีอิทธิพลปัญหาโภชนาการ มีพัฒนาทักษะในการจัดการสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในระดับครัวเรือนและชุมชน ในประเด็นเรื่องกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างแผนจากข้อมูลเชิงประจักษ์จากพื้นที่ดำเนินการ การพัฒนาการรวมตัวเป็นเครือข่าย ได้วางแผนแก้ปัญหา โดยนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และใช้เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ซึ่งสามารถ ดำเนินการเป็นนวัตกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป ๒.๔ การสร้างเป้าหมายร่วมของชุมชน ๒.๔.๑ มีการสร้างเป้าหมายร่วมกันโดย กำหนดมาตรการทางสังคมสู่การปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ทุกวัน เวลา ๑๗.๐๐ น. ออกกำลังกายพร้อมกัน นาน ๑๕-๓๐ นาที ๒. งานเลี้ยงทุกงานไม่มีน้ำหวานในงานเลี้ยง ๓. ทุกครัวเรือนรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ๔. ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง ๒.๔.๒ กระบวนการเพื่อสร้างเป้าหมายร่วม การออกแบบการดำเนินงานของชุมชนร่วมกัน ๑. การสื่อสารเป้าหมายและวิธีคิดไปสู่กลุ่มคนในชุมชน ๒. การสร้างแนวร่วม/เครือข่ายการพัฒนา ๓. การจัดการทุนที่มีอยู่ในชุมชน ๔. การประเมินผลกระบวนการทำงาน ๕. การวางแผน/พัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในประเด็นที่ขับเคลื่อน การถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น ประเด็นที่ ๓ ผลลัพธ์ของการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ๓.๑ ผลของการเรียนรู้จากการพัฒนานวัตกรรมของภาคีเครือข่าย ส่งผลต่อโรคและการเจ็บป่วยประชาชน จากผลการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมของภาคีเครือข่าย ส่งผลต่อโรคและการเจ็บป่วยประชาชน ลดลง กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง ร้อยละ ๙๙.๑๒ กลุ่มป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ ๑๐๐ กลุ่มป่วยที่เป็นโรคมีการเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ดีขึ้น มีภาวะแทรกซ้อน ลดลง ร้อยละ ๑๐๐ กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร้อยละ ๖๖.๖๗ กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น ร้อยละ ๑๙.๖ ๓.๒ ผลสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลความสามารถในการจัดการสุขภาพ จากการดำเนินการตามโครงการ สามารถสรุปผลสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้ ดังนี้ ๑. ประชาชนเข้าใจปัญหาสุขภาพที่เชื่อมโยงกับการเกิดปัญหา ในบริบทสถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่ ๒. ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เห็นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลในชุมชนนั้น และที่สามารถร่วมผลักดันลดการเกิดโรคทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนได้ ๓. นโยบายสาธารณสุขระดับพื้นที่ สร้างขึ้นบนฐานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ๔. มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารถ่ายทอดที่เหมาะสมกับกลุ่ม วัย ด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นสถานการณ์จริงในพื้นที่ บนฐานความเข้าใจธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ๕. มีการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ในพื้นที่ ๖. มีการนำเสนอปัญหาสู่กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลในชุมชน ด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมกำหนดบทบาทและแนวทางในการ ดำเนินงาน และร่วม ลงปฏิบัติบนฐานความเป็นไปได้ในชีวิตจริง ๗. มีระบบสนับสนุนระดับตำบล ระดับอำเภอ ที่ชัดเจน ได้แก่ การรณรงค์สร้างกระแสระดับตำบล อำเภอ ในการให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่างๆ ทุกระดับ การ ๘. ประสานเครือข่ายและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ฯลฯ ๓.๓ ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนในการจัดการสุขภาพ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน มีการกำหนดมาตรการทางสังคมสู่การปฏิบัติ อย่างยั่งยืน ดังนี้ ๑. ทุกวัน เวลา ๑๗.๐๐ น. ออกกำลังกายพร้อมกัน นาน ๑๕-๓๐ นาที ๒. งานเลี้ยงทุกงานไม่มีน้ำหวานในงานเลี้ยง ๓. ทุกครัวเรือนรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ๔. ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง ประเด็นที ๔. ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการสุขภาพ ทั้งของชุมชนและ รพ.สต. ๑. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ โดยต้องจัด ให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องจัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และผลการตัดสินใจของรัฐได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ๔. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง ดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่

แผนที่ตำบลตะเครียะ


"0" src="https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_Y84i1fzqoRpQPAvueuufbnR9gO_oTUwNTE3gY6VqOnu9Y01yTsH0gLlt_rEAqgnUtTrPGN9Ulzb33XjVfcwBifqs6zUJWdcdF1eapVjOZ__Q1MKnoSC-d_zTuB9n4KAMZRfySFMyfVc/s640/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1+DM+HT+57.jpg" />